พระราชบัญญัติมาตรฐานทางจริยธรรม พ.ศ. 2562
ความคืบหน้าการขับเคลื่อนมาตรฐานทางจริยธรรม
1. การประชุมคณะกรรมการมาตรฐานทางจริยธรรม (ก.ม.จ.)
ครั้งที่ 1/2563 เมื่อวันที่ 23 มีนาคม 2563 - ระเบียบวาระการประชุม - - รายงานการประชุม -
ครั้งที่ 2/2563 เมื่อวันที่ 29 กันยายน 2563 - ระเบียบวาระการประชุม - - รายงานการประชุม -
---------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
2. การจัดทำประมวลจริยธรรม ข้อกำหนดจริยธรรม และการรักษาจริยธรรม
เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 8 ตุลาคม 2563 เว็ปไซต์ราชกิจจานุเบกษา ประกาศระเบียบคณะกรรมการมาตรฐานทางจริยธรรมว่าด้วยหลักเกณฑ์การจัดทำประมวลจริยธรรม ข้อกำหนดจริยธรรมและกระบวนการรักษาจริยธรรมของหน่วยงานและเจ้าหน้าที่ของรัฐ พ.ศ. 2563 ซึ่งกำหนดให้องค์กรกลางบริหารงานบุคคลและหน่วยงานของรัฐจัดทำประมวลจริยธรรมของเจ้าหน้าที่ของรัฐแต่ละประเภท ภายใน 180 วัน
การดำเนินการดังกล่าวสอดคล้องกับรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 ยุทธศาสตร์ชาติ แผนปฏิรูปประเทศ และพระราชบัญญัติมาตรฐานทางจริยธรรม พ.ศ. 2562 ที่มุ่งให้ข้าราชการและเจ้าหน้าที่ของรัฐปฏิบัติตามมาตรฐานทางจริยธรรม อันนำไปสู่การเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานและเป็นที่เชื่อถือไว้วางใจของประชาชนมากขึ้น
คลิ๊กเพื่อดาวน์โหลด----------->> เอกสาร/ข้อมูลที่เกี่ยวข้อง
คลิ๊กเพื่อรับชม -------->> วิดีทัศน์อธิบายการจัดทำประมวลจริยธรรม
คลิ๋กเพื่อดาวน์โหลด -------->> ระเบียบคณะกรรมการมาตรฐานทางจริยธรรมว่าด้วยหลักเกณฑ์การจัดทำประมวลจริยธรรม ข้อกำหนดจริยธรรม และกระบวนการรักษาจริยธรรมของหน่วยงาและเจ้าหน้าที่ของรัฐ
--------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
ที่มา
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 มาตรา 76 วรรคสาม กำหนดให้ "รัฐพึงจัดให้มีมาตรฐานทางจริยธรรม เพื่อให้หน่วยงานของรัฐใช้เป็นหลักในการกําหนดประมวลจริยธรรมสําหรับเจ้าหน้าที่ของรัฐในหน่วยงานนั้น ๆ ซึ่งต้องไม่ต่ำกว่ามาตรฐานทางจริยธรรมดังกล่าว"
คณะรัฐมนตรี มีมติเมื่อวันที่ 13 กันยายน 2559 มอบหมายให้รองนายกรัฐมนตรี (นายวิษณุ เครืองาม) กำกับดูแลให้หน่วยงานผู้รับผิดชอบดำเนินการตามบัญชีให้เรียบร้อยและทันเวลาตามที่รัฐธรรมนูญกำหนด ซึ่งสำนักงาน ก.พ. ได้รับมอบหมายให้ดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการจัดทำมาตรฐานทางคุณธรรม จริยธรรมของหน่วยงานของรัฐ มาตรา 76 วรรคสาม และมาตรา 258 ข. (4) ร่วมกับองค์กรกลางบริหารงานบุคคลประเภทต่าง ๆ
สำนักงาน ก.พ. มีคำสั่งสำนักงาน ก.พ. ที่ 124/2560 แต่งตั้งคณะทำงานจัดทำมาตรฐานทางจริยธรรมตามรัฐธรรมนูญ เพื่อดำเนินการศึกษา วิเคราะห์ และจัดประชุมแลกเปลี่ยนความคิดเห็นร่วมกับองค์กรกลางบริหารงานบุคคลประเภทต่างๆ เพื่อจัดทำข้อเสนอการจัดให้มีมาตรฐานทางจริยธรรมของข้าราชการและเจ้าหน้าที่รัฐ รวมถึงกลไกการกำกับดูแล และสภาพบังคับใช้มาตรฐานทางจริยธรรมที่มีประสิทธิภาพ
คณะรัฐมนตรี ในการประชุมเมื่อวันที่ 28 สิงหาคม 2561 มีมติอนุมัติหลักการของร่างพระราชบัญญัติจริยธรรมเจ้าหน้าที่ของรัฐ พ.ศ. .... ตามที่ ก.พ. และองค์กรกลางบริหารงานบุคคลร่วมกันเสนอ และเสนอให้คณะกรรมการกฤษฏีกาและสภานิติบัญญัติแห่งชาติพิจารณา
สภานิติบัญญัติแห่งชาติ ในการประชุมครั้งที่ 7/2562 เป็นพิเศษ เมื่อวันที่ 31 มกราคม 2562 มีมติเห็นสมควรประกาศใช้ร่างพระราชบัญญัติมาตรฐานทางจริยธรรม พ.ศ. .... เป็นกฎหมายต่อไป
ราชกิจจานุเบกษา วันที่ 16 เมษายน 2562 ประกาศให้มีกฎหมายพระราชบัญญัติมาตรฐานทางจริยธรรม พ.ศ. 2562 และให้มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 17 เมษายน 2562 เป็นต้นไป
คำอธิบายสรุปสาระสำคัญของพระราชบัญญัติมาตรฐานทางจริยธรรม พ.ศ. 2562
_________________________________________________________________________________________________________
วิดิทัศน์การมอบนโยบายและทิศทางการขับเคลื่อนพระราชบัญญัติมาตรฐานทางจริยธรรม พ.ศ. 2562
โดย รองนายกรัฐมนตรี (นายวิษณุ เครืองาม) ประธานกรรมการมาตรฐานทางจริยธรรม
---------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
--------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
องค์ความรู้ที่เกี่ยวข้องกับการจัดทำมาตรฐานทางจริยธรรม
งานวิจัย/บทความ
Ethics in Public Sector
OECD
1. ETHICS CODES AND CODES OF CONDUCT AS TOOLS FOR PROMOTING AN ETHICAL AND PROFESSIONAL PUBLIC SERVICE:Comparative Successes and Lessons By Stuart C. Gilman, Ph.D.
2.Ethics Training for Public Officials
3.Developing the "Ethical Competence" of Public Officials
4.Trust in Government : Ethics measures in OECD Countries
ENGLAND
1. Standard in Public Life : 1st Report of the committee on standard in public life.
2. Standard in Public Life : 2nd Report
3. Standard in Public Life : 3rd Report
4. Standards Matter : A review of best practice in promoting good behaviour in public life.
5. Striking the Balance : Upholding the Seven Principles of Public Life in Regulation.
6. Ethics in Practice : Promoting Ethical Conduct in Public Life.
JAPAN
1. Outline of the National Public Service Ethics Law (Law No.129 of 1999)
2. The National Public Service Ethics Board
3.SYSTEM OF ETHICS OF PUBLIC SERVANTS IN JAPAN :Yuji Takada
SINGAPORE
1. Upholding Intregrity in the Public Service.Civil Service College.
THAILAND
1. เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับผู้ตรวจการแผ่นดิน : ว่าด้วยเรื่องประมวลจริยธรรม
----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
ประมวลจริยธรรมของเจ้าหน้าที่ของรัฐ ใหม่
ประมวลจริยธรรม องค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทย |
ประมวลจริยธรรมสำหรับกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน แพทย์ประจำตำบล สารวัตรกำนัน และผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน |
ข้อบังคับธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยประมวลจริยธรรมและจรรยาบรรณพนักงาน พ.ศ. ๒๕๖๔ |
ประมวลจริยธรรมผู้ปฏิบัติงานของสำนักงานคณะกรรมการการแข่งขันทางการค้า |
ระเบียบกระทรวงกลาโหม ว่าด้วยประมวลจริยธรรมและการรักษาจริยธรรม พ.ศ. ๒๕๖๔ |
ประกาศคณะกรรมการมาตรฐานการบริหารงานบุคคลส่วนท้องถิ่น เรื่อง ประมวลจริยธรรมพนักงานส่วนท้องถิ่น |
ประมวลจริยธรรมสำหรับกรรมการ ผู้บริหาร เจ้าหน้าที่ และผู้ปฏิบัติงานขององค์การมหาชน |
ประมวลจริยธรรมของกองทุนบริหารเงินกู้เพื่อการปรับโครงสร้างหนี้สาธารณะและพัฒนาตลาดตราสารหนี้ในประเทศ |
ประมวลจริยธรรมข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษาบุคลากรและผู้ปฏิบัติงานอื่นในสถาบันอุดมศึกษา |
---------------------------------------
มาตรฐานทางจริยธรรม (ใหม่)
---------------------------------------
มาตรฐานทางจริยธรรม /ประมวลจริยธรรมข้าราชการและเจ้าหน้าที่ของรัฐในกำกับฝ่ายบริหาร (เก่า)
1. ข้าราชการพลเรือน : ประมวลจริยธรรมข้าราชการพลเรือน
2. ข้าราชการตำรวจ : กฎ ก.ตร. ว่าด้วยประมวลจริยธรรมและจรรยาบรรณของตำรวจ พ.ศ. ๒๕๕๑ (ฉบับที่ ๑)
: กฎ ก.ตร. ว่าด้วยประมวลจริยธรรมและจรรยาบรรณของตํารวจ พ.ศ. ๒๕๕๓ (ฉบับที่ ๒)
3. ข้าราชการทหาร : ระเบียบกระทรวงกลาโหมว่าด้วยประมวลจริยธรรม พ.ศ. ๒๕๕๑
4. ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา :
5. ข้าราชการมหาวิทยาลัย : พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา พ.ศ. ๒๕๔๗
6. ข้าราชการกรุงเทพมหานคร : ระเบียบกรุงเทพมหานครว่าด้วยประมวลจริยธรรมของข้าราชการและลูกจ้างกรุงเทพมหานคร พ.ศ. ๒๕๕๒
7. ข้าราชการส่วนท้องถิ่น :
------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
คณะกรรมการจริยธรรม
หลักเกณฑ์และวิธีการสรรหาและการแต่งตั้งคณะกรรมการจริยธรรม Click
ตามที่ข้อกำหนดว่าด้วยกระบวนการรักษาจริยธรรม : กลไกและการบังคับใช้ประมวลจริยธรรมข้าราชการพลเรือน ข้อ ๖ กำหนดให้ ก.พ. โดยข้อเสนอของหัวหน้าส่วนราชการ แต่งตั้งคณะกรรมการจริยธรรมขึ้น เพื่อทำหน้าที่ให้คำปรึกษาแนะนำ สอดส่อง ดูแลและส่งเสริมให้มีการปฏิบัติตามประมวลจริยธรรมข้าราชการพลเรือน ติดตาม และประเมินผลการขับเคลื่อนงานด้านจริยธรรมของส่วนราชการ และข้อ ๙ กำหนดให้การสรรหาและการแต่งตั้งคณะกรรมการจริยธรรมให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่ ก.พ. กำหนด นั้น
ระบบแต่งตั้งคณะกรรมการจริยธรรมในรูปแบบออนไลน์ Click
เป็นระบบซึ่งพัฒนาและออกแบบสำหรับจัดเก็บฐานข้อมูลและประวัติของคณะกรรมการจริยธรรมประจำส่วนราชการ จำนวน 218 ส่วนราชการ (142 กรม 76 จังหวัด) โดยวัตถุประสงค์หลักในการนำระบบเข้ามาเพื่อดำเนินงาน ในการแต่งตั้งคณะกรรมการจริยธรรมออนไลน์ ซึ่งเปลี่ยนแปลงจากระบบเดิมซึ่งใช้เอกสารในการดำเนินการแต่งตั้ง เป็นการจัดเก็บข้อมูลผ่านระบบออนไลน์ทุกส่วนราชการ เพื่อให้การแต่งตั้งคณะกรรมการจริยธรรมเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ สามารถแต่งตั้งได้พร้อมกันทั้งหมด 218 ส่วนราชการ จึงได้มีการพัฒนาระบบแต่งตั้งคณะกรรมการจริยธรรมในรูปแบบออนไลน์ขึ้น เพื่อให้สอดคล้องกับนโยบายภาครัฐตามยุทธศาสตร์ประเทศไทย 4.0 และปรับสู่ความเป็นดิจิทัล
-------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
ผลการศึกษาเกี่ยวกับการคุ้มครองผู้แจ้งเบาะแส (Whistleblower Protection) และผลการรับฟังความคิดเห็นเกี่ยวกับหลักเกณฑ์การคุ้มครอง ผู้แจ้งเบาะแส (Whistleblower)
สำนักงาน ก.พ. โดยศูนย์ส่งเสริมจริยธรรม ได้ศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับการคุ้มครองผู้แจ้งเบาะแสหรือผู้ให้ข้อมูลที่เป็นประโยชน์ ซึ่งถือเป็นผู้ที่มีบทบาทสำคัญในการทำประโยชน์ในองค์กรและสังคมโดยรวม ด้วยการเฝ้าระวัง เป่านกหวีด เพื่อหยุดยั้งหรือป้องกันการกระทำผิดต่าง ๆ และได้จัดทำแบบสอบถามเพื่อรับฟังความคิดเห็นเกี่ยวกับหลักเกณฑ์การคุ้มครองผู้แจ้งเบาะแส (Whistleblower) ขึ้น เพื่อรับฟังปัญหาและอุปสรรคของระบบร้องเรียนและการคุ้มครองผู้แจ้งเบาะแสของหน่วยงานของรัฐในปัจจุบัน รวมถึงปัญหาอุปสรรคของการร้องเรียน ความพึงพอใจ และเชื่อมั่นของประชาชนที่มีต่อการรับเรื่องร้องเรียนของหน่วยงานของรัฐในภาพรวม และนำผลจากการรับฟังความคิดเห็นดังกล่าว ไปจัดทำข้อเสนอแนวทางการพิจารณาเรื่องร้องเรียนและมาตรการเฝ้าระวัง การบังคับใช้ประมวลจริยธรรมสำหรับเจ้าหน้าที่ของรัฐ อันจะเป็นมาตรการและกลไกตามที่ได้กำหนดไว้ในมาตรา ๑๙ (๒) แห่งพระราชบัญญัติมาตรฐานทางจริยธรรม พ.ศ. ๒๕๖๒ ว่า ให้หน่วยงานของรัฐ ดำเนินกิจกรรมการส่งเสริม สนับสนุน ให้ความรู้ ฝึกอบรม และพัฒนาเจ้าหน้าที่ของรัฐในหน่วยงานของรัฐ และจัดให้มีมาตรการและกลไกที่มีประสิทธิภาพเพื่อเสริมสร้างให้มีการปฏิบัติตามประมวลจริยธรรม ตลอดจนมีการสร้างเครือข่ายและประสานความร่วมมือระหว่างหน่วยงานของรัฐและภาคเอกชน
ทั้งนี้ สำนักงาน ก.พ. ได้เปิดให้มีการรับฟังความคิดเห็นในระบบออนไลน์ ระหว่างวันที่ ๑๔ กันยายน - ๕ ตุลาคม ๒๕๖๔ ที่ผ่านมา ซึ่งสรุปผลการรับฟังความคิดเห็นได้ ตามเอกสาร ผลการศึกษาเกี่ยวกับการคุ้มครองผู้แจ้งเบาะแส (Whistleblower Protection) และ ผลการรับฟังความคิดเห็นเกี่ยวกับหลักเกณฑ์การคุ้มครองผู้แจ้งเบาะแส (Whistleblower) นี้
-------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
การดำเนินการกรณีข้าราชการฝ่าฝืนจริยธรรมหรือไม่ปฏิบัติตามประมวลจริยธรรมข้าราชการพลเรือน และข้อกำหนดจริยธรรมของส่วนราชการ
ก.พ. ในฐานะองค์กรกลางบริหารงานบุคคลของข้าราชการพลเรือนได้จัดทำประมวลจริยธรรมข้าราชการพลเรือน เพื่อใช้เป็นหลักเกณฑ์ในการปฏิบัติตน และรักษาคุณงามความดีที่ข้าราชการต้องยึดถือในการปฏิบัติงาน ซึ่งมีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ ๒๑ พฤษภาคม ๒๕๖๔ ประกอบกับข้อกำหนดว่าด้วยกระบวนการรักษาจริยธรรม : กลไกและการบังคับใช้ประมวลจริยธรรมข้าราชการพลเรือน ซึ่งมีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่๗ กันยายน ๒๕๖๔
ดังนั้น เพื่อให้ข้าราชการพลเรือน พนักงานราชการ พนักงาน ลูกจ้าง และผู้ปฏิบัติงานอื่นในหน่วยงานของรัฐที่อยู่ในความรับผิดชอบของ ก.พ. ปฏิบัติตนตามประมวลจริยธรรมข้าราชการพลเรือน และข้อกำหนดจริยธรรมของส่วนราชการภายใต้มาตรการการดำเนินการที่เหมาะสม ก.พ. จึงอาศัยอำนาจตามข้อ ๓ (๔) และข้อ ๑๒ ของข้อกำหนดว่าด้วยกระบวนการรักษาจริยธรรม : กลไกและการบังคับใช้ประมวลจริยธรรมข้าราชการพลเรือน กำหนดมาตรการการดำเนินการกรณีการฝ่าฝืนจริยธรรมหรือไม่ปฏิบัติตามประมวลจริยธรรมข้าราชการพลเรือน และข้อกำหนดจริยธรรมของส่วนราชการ เพื่อให้เกิดความชัดเจนในการปฏิบัติ
- นร ๑๐๑๙.๒/ว ๑ ลงวันที่ ๑๒ มกราคม ๒๕๖๖ เรื่อง การดำเนินการกรณีข้าราชการฝ่าฝืนจริยธรรมหรือไม่ปฏิบัติตามประมวลจริยธรรมข้าราชการพลเรือน และข้อกำหนดจริยธรรมของส่วนราชการ
- สิ่งที่ส่งมาด้วย มาตรการการดำเนินการกรณีข้าราชการฝ่าฝืนจริยธรรมหรือไม่ปฏิบัติตามประมวลจริยธรรม ข้าราชการพลเรือน และข้อกำหนดจริยธรรมของส่วนราชการ
-------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
ระเบียบคณะกรรมการมาตรฐานทางจริยธรรมว่าด้วยหลักเกณฑ์การรายงานผลการดำเนินการตามมาตรฐานทางจริยธรรม ประมวลจริยธรรม ข้อกำหนดจริยธรรม และกระบวนการรักษาจริยธรรม พ.ศ. ๒๕๖๕
โดยที่พระราชบัญญัติมาตรฐานทางจริยธรรม พ.ศ. ๒๕๖๒ กำหนดให้คณะกรรมการมาตรฐานทางจริยธรรม (ก.ม.จ.) มีหน้าที่และอำนาจสำคัญประการหนึ่ง คือ กำกับ ติดตาม และประเมินผลการดำเนินการตามมาตรฐานทางจริยธรรม ตลอดจนตรวจสอบรายงานประจำปีของหน่วยงานภาครัฐ และรายงานสรุปผลการดำเนินงานดังกล่าวต่อคณะรัฐมนตรีเพื่อทราบโดยหน่วยงานของรัฐต้องเสนอรายงานประจำปีผ่านองค์กรกลางบริหารงานบุคคลหรือองค์กร ตามมาตรา ๖ วรรคสอง แล้วแต่กรณี เพื่อประเมินผลในภาพรวมของหน่วยงานของรัฐเสนอต่อ ก.ม.จ.
ก.ม.จ. จึงได้กำหนดหลักเกณฑ์การรายงานผลการดำเนินการตามมาตรฐานทางจริยธรรม ประมวลจริยธรรม ข้อกำหนดจริยธรรม และกระบวนการรักษาจริยธรรม ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และรูปแบบ
ดาวน์โหลดประกาศราชกิจจานุเบกษา
-------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
สื่อเพื่อการรณรงค์ส่งเสริมจริยธรรม
สรุปสาระสำคัญของพระราชบัญญัติมาตรฐานทางจริยธรรม พ.ศ. 2562
- โปสเตอร์
- มาตรา 3 คำนิยาม หน่วยงานของรัฐ
- มาตรา 3 คำนิยาม เจ้าหน้าที่ของรัฐ
- มาตรา 5 มาตรฐานทางจริยธรรม
- มาตรา 8 คณะกรรมการมาตรฐานทางจริยธรรม (ก.ม.จ.)
- มาตรา 19 การรักษาจริยธรรมของเจ้าหน้าที่ของรัฐ หน้าที่ของหน่วยงานของรัฐ
- มาตรา 20 การรักษาจริยธรรมของเจ้าหน้าที่ของรัฐ หน้าที่ขององค์กรการบริหารงานบุคคล
- มาตรา 76 วรรค 3 และ 219 มาตรฐานทางจริยธรรมตามรัฐธรรมนูญฯ พ.ศ.2560
- Infographic
- มาตรา 3 คำนิยาม หน่วยงานของรัฐ
- มาตรา 3 คำนิยาม เจ้าหน้าที่ของรัฐ
- มาตรา 5 มาตรฐานทางจริยธรรม
- มาตรา 8 คณะกรรมการมาตรฐานทางจริยธรรม (ก.ม.จ.)
- มาตรา 19 การรักษาจริยธรรมของเจ้าหน้าที่ของรัฐ หน้าที่ของหน่วยงานของรัฐ
- มาตรา 20 การรักษาจริยธรรมของเจ้าหน้าที่ของรัฐ หน้าที่ขององค์กรการบริหารงานบุคคล
- มาตรา 76 วรรค 3 และ 219 มาตรฐานทางจริยธรรมตามรัฐธรรมนูญฯ พ.ศ.2560
- มาตรฐานทางจริยธรรม ประการที่ 1 : ยึดมั่นในสถาบันหลักของประเทศอันได้แก่ ชาติ ศาสนา พระมาหากษัตริย์ และการปกครองระบบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
- มาตรฐานทางจริยธรรม ประการที่ 2 : ซื่อสัตย์สุจริต มีจิตสำนึกที่ดี และความรับผิดชอบต่อหน้าที่
- มาตรฐานทางจริยธรรม ประการที่ 3 : กล้าตัดสินใจ และกระทำในสิ่งที่ถูกต้อง ชอบธรรม
- มาตรฐานทางจริยธรรม ประการที่ 4 : คิดถึงประโยชน์ส่วนรวมมากกว่าประโยชน์ส่วนตัว และมีจิตสาธารณะ
- มาตรฐานทางจริยธรรม ประการที่ 5 : มุ่งผลสัมฤทธิ์ของงาน
- มาตรฐานทางจริยธรรม ประการที่ 6 : ปฏิบัติหน้าที่อย่างเป็นธรรมและไม่เลือกปฏิบัติ
- มาตรฐานทางจริยธรรม ประการที่ 7 : ดำรงตนเป็นแบบอย่างที่ดี และรักษาภาพลักษณ์ของทางราชการ
- วีดิทัศน์
- ตอนที่ 1 ยึดมั่นในสถาบันหลักของประเทศ
- ตอนที่ 2 ซื่อสัตย์สุจริต มีจิตสำนึกที่ดี และความรับผิดชอบต่อหน้าที่
- ตอนที่ 3 ยืนหยัดในสิ่งที่ถูกต้อง ชอบธรรม
- ตอนที่ 4 ยึดถือประโยชน์ส่วนรวมเป็นที่ตั้ง
- ตอนที่ 5 มุ่งผลสัมฤทธิ์ของงาน
- ตอนที่ 6 ไม่เลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรม
- ตอนที่ 7 ดำรงตนเป็นแบบอย่างที่ดี และรักษาภาพลักษณ์ของทางราชการ
- สปอตโทรทัศน์
- ตอนที่ 1 ยึดมั่นในสถาบันหลักของประเทศ
- ตอนที่ 2 ซื่อสัตย์สุจริต มีจิตสำนึกที่ดี และความรับผิดชอบต่อหน้าที่
- ตอนที่ 3 ยืนหยัดในสิ่งที่ถูกต้อง ชอบธรรม
- ตอนที่ 4 ยึดถือประโยชน์ส่วนรวมเป็นที่ตั้ง
- ตอนที่ 5 มุ่งผลสัมฤทธิ์ของงาน
- ตอนที่ 6 ไม่เลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรม
- ตอนที่ 7 ดำรงตนเป็นแบบอย่างที่ดี และรักษาภาพลักษณ์ของทางราชการ
- สปอตวิทยุ
- Motion Graphic
- ตอนที่ 1 คำนิยาม ตามมาตรา 3 หน่วยงานของรัฐ
- ตอนที่ 2 คำนิยาม ตามมาตรา 3 เจ้าหน้าที่ของรัฐ
- ตอนที่ 3 มาตรฐานทางจริยธรรม ตามมาตรา 5
- ตอนที่ 4 คณะกรรมการมาตรฐานทางจริยธรรม (ก.ม.จ.) ตามมาตรา 8
- ตอนที่ 5 การรักษาจริยธรรมของเจ้าหน้าที่ของรัฐ ตามมาตรา 19
- ตอนที่ 6 การรักษาจริยธรรมของเจ้าหน้าที่ของรัฐ ตามมาตรา 20
- ตอนที่ 7 มาตรฐานทางจริยธรรมของตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ตามมาตรา 76 วรรค 3 และ มาตรา 219
-------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
ติดต่อสอบถามข้อมูลและเสนอแนะความเห็นเพิ่มเติมได้ที่
ฝ่ายเลขานุการคณะทำงานจัดทำมาตรฐานทางจริยธรรมตามรัฐธรรมนูญ
ศูนย์ส่งเสริมจริยธรรม สำนักงาน ก.พ.
โทรศัพท์
02-547-1707
02-547-1712
02-547-1713
******************************************************************************************************
******************************************************************************************************