สถานการณ์ปัจจุบัน
การพัฒนาเทคโนโลยีดิจิทัลที่ก้าวกระโดดและการผสมผสาน
การใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่หลากหลายสาขา เพื่อตอบสนอง
ความต้องการในภาคการผลิต การบริการ และพฤติกรรมของผู้บริโภค
ที่เปลี่ยนแปลงได้ส่งผลทำให้รูปแบบและกระบวนการประกอบธุรกิจ
และการดำเนินชีวิตรวมถึงความสัมพันธ์ของคนปรับเปลี่ยนไป
อย่างพลิกโฉม สำหรับภาครัฐเองได้มีการกล่าวถึงการนำเทคโนโลยี
ดิจิทัลมาใช้อย่างเต็มศักยภาพในการปรับรูปแบบและวิธีการบริหาร
ราชการแผ่นดินและการจัดทำบริการสาธารณะรวมถึงการบูรณาการ
ฐานข้อมูลของหน่วยงานของรัฐเข้าด้วยกัน เพื่อการปรับสมดุลและ
พัฒนาระบบการบริหารจัดการภาครัฐ ยกระดับงานบริการประชาชน
สู่ความเป็นเลิศ และตอบสนองความต้องการของผู้รับบริการ
อย่างสะดวก รวดเร็ว และโปร่งใส โดย “การปรับเปลี่ยนภาครัฐ
เป็นรัฐบาลดิจิทัล” (Digital Government Transformation)
วัตถุประสงค์
เพื่อให้กำลังคนของภาครัฐตระหนักรู้ถึงความจำเป็นเร่งด่วนของการปรับเปลี่ยนบริบท รูปแบบ
และวิธีการทำงานภาครัฐ มีความพร้อมทั้งด้าน “กรอบความคิด” (Mindset) และ “ทักษะ” (Skill set)
เพื่อการปรับเปลี่ยนไปสู่รัฐบาลดิจิทัล ด้วยการพัฒนาภาครัฐที่มีคุณลักษณะสำคัญ ดังต่อไปนี้1.รัฐบาลแบบเปิดและเชื่อมโยงกัน (Open and Connected Government)
2. รัฐบาลที่มีความทันสมัยและยึดประชาชนเป็นศูนย์กลาง (Smart Government for Citizen)
3. วัฒนธรรมดิจิทัลภาครัฐ (Digital Culture)
เป้าหมาย
1. ผู้บริหารระดับสูงและผู้นำภาครัฐ ตระหนักรู้ มีความมุ่งมั่นตั้งใจ มีศักยภาพและความสามารถ
รวมทั้งเป็นผู้นำองค์กรสู่กระบวนการปรับเปลี่ยนเป็นรัฐบาลดิจิทัลเพื่อการไปสู่ดิจิทัลไทยแลนด์2. กำลังคนภาครัฐในภาพรวมมีทักษะแบบใหม่ ที่พร้อมรับกับการทำงานในบริบทดิจิทัลไทยแลนด์
รวมทั้งมีส่วนร่วมในการปรับเปลี่ยนเป็นรัฐบาลดิจิทัล3. ส่วนราชการและหน่วยงานของรัฐ มีกลุ่มกำลังคนที่มีศักยภาพสูงที่พร้อมเป็นกลไกขับเคลื่อน
การปรับเปลี่ยนเป็นรัฐบาลดิจิทัล4. ส่วนราชการและหน่วยงานของรัฐ มีการสร้าง พัฒนา และบริหารกำลังคน รวมทั้งระบบนิเวศดิจิทัล
ที่ส่งเสริมและสนับสนุนการสร้างและพัฒนากำลังคนภาครัฐให้มีทักษะแบบใหม่ และเป็นระบบ
ซึ่งเอื้ออำนวยให้เกิดการสร้างสรรค์ผลงานและนวัตกรรม
หากท่านมีคำถามหรือข้อสงสัย สามารถส่งประเด็นคำถามของท่าน ได้ที่นี่
ท่านสามารถดาวน์โหลดเอกสาร ได้ที่นี่
- 60842 reads